ไขข้อข้องใจโอมิครอน BA.4-BA.5 น่ากลัวไหม ป้องกันอย่างไร

}

30 August, 2022

ไขข้อข้องใจโอมิครอน

ไวรัสตัวใหม่โอมีครอน Ba.4-BA.5 ไขข้อข้องใจโอมิครอน BA.4-BA.5 น่ากลัวไหม ป้องกันอย่างไร ซึ่งตามรายงานได้มีการบอกถึงกระแพร่เชื้อได้รวดเร็วกว่าตัวเดิมอย่างมาก การกระจายตัวของมันซึ่งสามารถติดเชื้อกันได้ง่ายกว่าเดิมแต่ความรุนแรงนั้นตามที่ได้มีการวิจัยซึ่งบอกว่า ความรุนแรงนั้น น้อยกว่าตัวเดิมเช่นกัน วันนี้ผมมีหลายท่านที่ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเจ้าตัวโอมิครอน BA.4-BA.5 อาทิเช่น นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , นายแพทย์ มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ และ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความน่ากลัวของไวรัสสายพันธุ์ใหม่และการป้องกันจากไวรัสตัวนี้ ก่อนเราจะไปเริ่มกันผมขอฝาก หน้ากากอนามัย 3 ชั้น ผ่านมาตรฐาน มอก. มีเลข อย. ถูกต้องตามกฎหมาย ผลิตในไทย ของบริษัทเรานั้นเอง จำหน่ายหน้ากากอนามัย ในราคาต้นทุน เอาล่ะครับ เราไปเริ่มกันเลยดีกว่า

ไขข้อข้องใจโอมิครอน 1

ไขข้อข้องใจโอมิครอน BA.4-BA.5 โดย คุณหมอนูญ

วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจโอมิครอนตัวใหม่ที่กำลังแพร่ระบาดเป็นอย่างมากในช่วงนี้ เริ่มกันด้วยคนแรกเลยครับ นายแพทย์ มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ หรือ คุณหมอนูญที่ได้โพสข้อความผ่าน Facebook เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2565 กล่าวไว้ว่า ”

“เชื้อไวรัสโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5 สามารถแพร่ได้เร็วกว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์เดิมทุกสายพันธุ์ และเชื้อไวรัสโรดอื่นๆ ทุกชนิดในโลก ด้วยการเปรียบเทียบค่า R0 คนติดเชื้อ 1 คน แพร่เชื้อต่อให้คนอื่นกี่คน

คนติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์อู่ฮั่น 1 คน แพร่เชื้อต่อให้อีก 3.3 คน
คนติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตา 1 คน แพร่เชื้อต่อให้อีก 5.1 คน
คนติดเชื้อไวรัสโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 หนึ่งคน แพร่เชื้อต่อให้อีก 9.5 คน
คนติดเชื้อไวรัสโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5 หนึ่งคน แพร่เชื้อต่อให้อีก 18.6 คน
ในขณะที่คนติดเชื้อไวรัสอีสุกอีใส 1 คน แพร่เชื้อต่อให้อีก 12 คน
คนติดเชื้อไวรัสหัด 1 คน แพร่เชื้อต่อให้อีก 18 คน

ไวรัสโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5 ในขณะนี้แซงหน้าเชื้อไวรัสทุกชนิดในโลก ในด้านการแพร่กระจาย ในอนาคตเชื้อไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยตัวใหม่ เช่น BA.2.75 ที่เพิ่งพบในประเทศอินเดีย อาจจะแพร่ได้เร็วยิ่งกว่าสายพันธุ์ย่อย BA.5 ไม่มีใครคาดเดาได้ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป

ช่วงนี้ขอให้ประชาชนคนไทยทุกคนระมัดระวังตัวมากขึ้น โรคระบาดใหญ่ของโควิดยังไม่จบ เพราะเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ย่อย BA.5 แพร่กระจายได้เร็วมาก ติดต่อกันง่ายที่สุด แต่โชคยังดีที่ไม่รุนแรงเพิ่มขึ้น ด้วยการใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือต่อไป และรีบไปรับวัคซีนป้องกันโรคโควิดเข็มกระตุ้นให้ครบทุกคน

ไขข้อข้องใจโอมิครอน BA.4-BA.5

นพ.ยง ภู่วรวรรณ แนะฉีดวัคซีนลดอาการ!

ต่อการด้วย หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือเป็นที่รู้จักในนาม นพ.ยง ได้โพสผ่าน Facebook ส่วนตัวว่า โควิด 19 การระบาดระลอกนี้เป็นระลอกที่ 6

การระบาดของ covid 19 รอบใหม่นี้ นับเป็นระลอก ที่ 6 เป็นการระบาดด้วยสายพันธุ์ โอมิครอน BA.5

ถ้าย้อนไปดูการระบาดระลอกแรก เกิดขึ้นในเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2563 ที่สนามมวยและสถานบันเทิง เป็นจุดเริ่มต้น มีผู้ป่วยเป็นหลักสิบ สายพันธุ์ที่พบเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิม อู่ฮั่น

การระบาดระลอกที่ 2 เกิดเริ่มต้นที่ตลาดกลางกุ้ง จังหวัดสมุทรสาคร ในแรงงานต่างด้าว กลางเดือนธันวาคม 2563 มีผู้ป่วยเป็นหลักร้อยต่อวัน สายพันธุ์ที่พบเป็นสายพันธุ์ G

การระบาดรอบที่ 3 เกิดขึ้นในเดือนมีนาคม 2564 เริ่มจากสถานบันเทิงที่ทองหล่อ โดยนำเชื้อสายพันธุ์อังกฤษ หรือต่อมาเรียกว่าสายพันธุ์อัลฟ่า มีผู้ป่วยเป็นหลักพัน ต่อวัน

การระบาดระลอกที่ 4 เกิดขึ้นหลังจากการระบาดด้วยสายพันธุ์แอลฟาเริ่มลดลง ก็มีสายพันธุ์อินเดีย หรือที่เรียกว่าสายพันธุ์เดลต้า เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 มีผู้ป่วยเป็นหลักหมื่น และอยู่จนถึงปลายปีจึงเริ่มลดลง

การระบาดใน ระลอกที่ 5 เกิดขึ้นในช่วงปีใหม่ 2565 ด้วยสายพันธุ์โอมิครอน โดยเริ่มจาก BA. 1 แล้วตามด้วย BA.2 มีผู้ป่วยหลายหมื่นคนต่อวัน เมื่อค่อยๆลดลง และลดลงมาจนถึงต้นเดือนมิถุนายน

พอกลางเดือนมิถุนายน ก็มีการระบาดระลอกใหม่ เป็นรอบที่ 6 ที่เป็นสายพันธุ์ BA.5 และในช่วงนี้ เกิดการระบาดอย่างมาก โดยเฉพาะในเด็กนักเรียน และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว โดยคาดการณ์ว่า ขณะนี้น่าจะมีผู้ติดเชื้ออยู่หลักหมื่น และมีการนอนโรงพยาบาล ตามตัวเลขที่ประกาศ ประมาณ 2,000 คน เสียชีวิต 20 คน หรืออัตราการเสียชีวิต น่าจะอยู่ที่หนึ่งในพันของผู้ติดเชื้อ น้อยลงกว่าการระบาดในระลอกแรกๆ

อ้างอิง : https://www.facebook.com/yong.poovorawan

ไขข้อข้องใจโอมิครอน 2

และได้โพสข้อความต่อเกี่ยวกับเรื่องไวรัสเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2565 ดังนี้ ” โควิด 19 วัคซีน การใช้วัคซีนขนาดครึ่งโดส mRNA กระตุ้นผู้ที่เคยได้รับวัคซีนเชื้อตายมาก่อน”

ผลงานวิจัยของเรา แสดงออกมาชัดเจน ถึงการใช้วัคซีน mRNA ไม่ว่าจะเป็น วัคซีนไฟเซอร์ หรือ moderna การให้เพียงขนาดครึ่งเดียว กับเต็มโดส ในการกระตุ้นผู้ที่ได้รับวัคซีนเชื่อตาย sinovac มาก่อน ผลภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นไม่แตกต่างกัน อยู่ในระดับที่สูง

ผลงานได้รับการเผยแพร่ในวารสาร “VACCINE” ที่เป็นวารสารระดับนานาชาติที่ได้มาตรฐานสูง และเป็นที่ยอมรับ รายละเอียดสามารถหาอ่านได้ เพราะวารสารได้เผยแพร่แล้ว

วัคซีนเชื้อตาย จะเป็นวัคซีนพื้นฐานที่ให้แล้ว เมื่อกระตุ้นไม่ว่าจะเป็นใช้ไวรัสเวกเตอร์ AstraZeneca, mRNA หรือโปรตีนซับยูนิต Covovax (Novavax) กระตุ้นภูมิได้สูงมาก ไม่ได้ด้อยกว่าการให้วัคซีนชนิดเดียวกัน 3 เข็ม

และจากการติดตามของเราในกลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนเต็มโดสและครึ่งโดส ไปจนถึง 4 เดือนหรือ 120 วัน การลดลงของภูมิต้านทานไม่ว่าจะได้รับเต็มโดสหรือครึ่งโดส ไม่แตกต่างกัน

วัคซีน Moderna เป็นที่ยอมรับ ทั่วโลกว่าการกระตุ้น ใช้เพียงครึ่งเดียว หรือขนาด 50 ไมโครกรัมก็เพียงพออยู่แล้ว”

ไขข้อข้องใจโอมิครอน BA.4-BA.5 1

โควิด 19 กำลังจะเปลี่ยนจาก “โรคติดต่ออันตราย” ไปสู่ “โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง”

เมื่อมีการระบาดของโรคโควิด 19 โรคค่อนข้างรุนแรง ระบาดรวดเร็วทั่วโลก และมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก โรคโควิด 19 จึงถูกบรรจุเป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงลำดับที่ 14 ใน พรบ โรคติดต่อ

ระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 2 ปี ความรุนแรงของโรคเริ่มน้อยลง ถึงแม้จะยังแพร่กระจายได้ง่าย ในอนาคตก็คงไม่ต่างกับไข้หวัดใหญ่ ดังนั้น เราจึงได้ยินว่าในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ จะมีการลดระดับ ของโรคโควิด 19 จากโรคติดต่ออันตราย มาเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง เช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ และโรคอื่นๆ อีก 55 โรค ในวันที่ 1 ตุลาคม นี้

ในอนาคตการดูแลรักษาโรคโควิด 19 ก็คงจะเป็นเช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่นๆ

เชื่อว่าโรคโควิด 19 จะมียารักษาที่ดีขึ้นเรื่อยๆ และการดูแลที่สำคัญจะมุ่งเน้น ในกลุ่มเปราะบาง ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง

ไขข้อข้องใจโอมิครอน BA.4-BA.5 5

ไขข้อข้องใจโอมิครอน BA.4-BA.5 โดย อาจารย์เจษฎ์

อาจารย์เจษฎ์ หรือ ท่านรศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะมาไขข้อข้องใจโอมิครอน ได้โพสต์ข้อความ Facebook Page ของท่านที่ชื่อว่า อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ในหัวข้อเรื่องที่ว่า “โควิด โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 เราต้องกังวลมากน้อยแค่ไหน?

หลังจากที่เริ่มมีรายงานข่าวว่า พบไวรัสโควิด สายพันธุ์โอมิครอน ที่เป็นสายพันธุ์ย่อยใหม่ ชื่อว่า BA.4 และ BA.5 ระบาดมากขึ้นในหลายประเทศ และล่าสุด ก็มีพบจำนวนหนึ่งในประเทศไทยเราด้วย

ทำให้เริ่มเกิดคำถามว่า เราจะต้องกังวลเกี่ยวกับเชื้อตัวนี้ มากน้อยแค่ไหน ? ต้องเตรียมการรับมืออะไรเป็นพิเศษหรือเปล่า ?

ดังนั้น ผมลองสรุปข้อมูลที่พอจะหาได้ มาให้พิจารณากันนะครับ

– โควิดสายพันธุ์โอมิครอนนั้น มีวิวัฒนาการกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ อย่างเช่น สายพันธุ์ย่อย BA.2 ซึ่งระบาดเป็นหลักในประเทศไทยเราช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา

– แต่ตอนนี้ มันก็มีวิวัฒนาการไปอีก เป็นสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 (ดูแผนภูมิในรูปประกอบ) ซึ่งมีอัตราการแพร่ระบาดที่เร็วขึ้นกว่าเดิม มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อในปอดได้มากขึ้น ซึ่งในทางทฤษฎีแล้วมันอาจจะเป็นตัวที่อันตรายขึ้นกว่าโอมิครอนเดิม (คือ BA.2) แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานโดยตรง ว่ามันทำให้เกิดอาการของโรคที่ซีเรียสขึ้นจริง

– แม้จะฟังดูน่ากังวล แต่ก็ยังไม่มีสัญญาณชี้บ่งว่ามันจะทำให้เกิด “คลื่น (wave) ” การแพร่ระบาดใหญ่ และมีผู้เสียชีวิตมากมายขึ้นอีก แต่อาจจะมีการเพิ่มขึ้นบ้างพอเห็นเป็นพีค และผู้ที่จะเสี่ยงชีวิตกับเชื้อนี้ ก็ยังคงเป็นกลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือไม่เคยติดเชื้อโควิดมาก่อน

– ตอนนี้ สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิดกว่า 97% ที่ระบาดอยู่ทั่วโลกนั้น เป็นโอมิครอน โดยมีสายพันธุ์ย่อย BA.2 มากที่สุด (39% ของพวกโอมิครอนทั้งหมด) ขณะที่สายพันธุ์ย่อย BA.2.12.1 มีอยู่ 28%, BA.5 มี 6%, และ BA.4 มี 3%

– แต่การที่สายพันธุ์ย่อยหลังๆ นั้น เริ่มมีมากขึ้น และอาจจะเข้าแทนที่ BA.2 ได้ องค์การ อนามัยโลก (WHO) จึงกำหนดให้พวกมันเป็น “สายวิวัฒนาการ ที่กำลังจับตามอง ของสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variant of Concern lineages under monitoring)

– มีรายงานการระบาดของ BA.4 และ BA.5 ในประเทศอัฟริกาใต้ และประเทศโปรตุเกส ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นจนเป็นพีค และตอนนี้ก็มีรายงานว่าเชื้อทั้ง 2 สายพันธุ์ย่อยนี้ มีอัตราส่วนเพิ่มมากขึ้น ในประเทศยุโรปอื่นๆ รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา โดยมีแนวโน้มว่าอาจจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักในอนาคต

– ประเด็นที่นักวิทยาศาสตร์กังวลกันของเชื้อพวกนี้ (ทั้ง BA.4 , BA.5 และ BA.2.12.1) ก็คือการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นที่ยีนโปรตีนหนาม ในตำแหน่ง LR452 ที่อาจจะเป็นตัวการทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ย่อยเดิม

– รวมทั้ง พวกมันเหมือนจะติดเชื้อที่เนื้อเยื่อปอดได้มากขึ้น ซึ่งคล้ายคลึงกับสายพันธุ์อื่นๆ อย่าง อัลฟ่า Alpha หรือ เดลต้า Delta (โอมิครอนตัวเก่า อย่างสายพันธุ์ย่อย BA.1 และ BA.2 มักจะติดเชื้อที่เนื้อเยื่อทางเดินหายใจตอนบน เช่นเซลล์บุในโพรงจมูก มากกว่า

– ข้อมูลเบื้องต้นจากงานวิจัยของ Kei Sato และคณะที่มหาวิทยาลัยโตเกียว แสดงให้เห็นว่า BA.4/5 และ BA.2.12.1 นั้นเพิ่มจำนวนในเซลล์ปอดของคน ได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า BA.2

– ส่วนการทดลองของพวกเขา ในหนูแฮมสเตอร์ ก็พบว่า BA.4 และ BA.5 สามารถทำให้เกิดอาการป่วยรุนแรงได้ (แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานในมนุษย์ก็ตาม) รวมถึงการที่มันเพิ่มจำนวนได้มากขึ้น และอาจจะดื้อต่อภูมิคุ้มกันของร่างกายหนู ที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อก่อนหน้านั้น

– เป็นไปได้ว่า ที่ BA.4 และ BA.5 จะมาแทนที่สายพันธุ์อื่นได้นั้น เนื่องจากว่ามันมีความสามารถในการที่จะหลบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่เกิดจากการที่เคยติดเชื้อหรือจากการฉีดวัคซีน จนทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำได้

– อย่างไรก็ตาม วัคซีนก็ยังเป็นเกราะป้องกันที่ดี ต่อการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจากเชื้อพวกนี้ การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นบูสเตอร์ ก็ยังมีแนวโน้มที่จะสามารถช่วยเสริมระดับภูมิคุ้มกันในร่างกาย ในการรับมือกับสายพันธุ์ย่อยใหม่นี้

สรุป เชื้อโควิดโอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 อยู่ในกลุ่มของเชื้อที่ต้องจับตามอง ว่าจะมาแทนที่สายพันธุ์ย่อยเดิม อย่าง BA.2 เมื่อไหร่ … ซึ่งการคาดการณ์ที่มีอยู่ขนาดนี้ ยังไม่มีตัวชี้บ่งว่า จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดที่รุนแรง และมีผู้เสียชีวิตมาก เหมือนช่วงปีก่อนๆ … การฉีดวัคซีน และฉีดกระตุ้น ยังเป็นแนวทางที่ดีที่สุด ในการปกป้องตนเองและสังคม จากการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต ด้วยสายพันธุ์ย่อยเหล่านี้ครับ

ไขข้อข้องใจโอมิครอน BA.4-BA.5 2
ไขข้อข้องใจโอมิครอน BA.4-BA.5 3

อ้างอิง : https://www.facebook.com/OhISeebyAjarnJess

เป็นยังไงกันบ้างครับกันวันนี้ในหัวข้อ ไขข้อข้องใจโอมิครอน BA.4-BA.5 ซึ่งบอกได้เลยว่ามีความค่อนข้างน่ากลัวอยู่ไม่น้อยเลยแต่สิ่งที่เราขาดไม่ได้เลยนั้นก็คือการใส่หน้ากากอนามัย3ชั้น หมั่นล้างมือด้วยเจลแอลกลอฮอร์บ่อยๆ

สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้จากข้อมูลด้านล่างนี้เลยหรือท่านใดต้องการเป็นตัวแทนจำหน่ายสามารถติดต่อเข้ามาสอบถามได้เช่นเดียวกันและถ้าท่านใดต้องการซื้อไปใช้เองสามารถซื้อได้ที่ Lazada และ Shopee หรือสั่งจากโรงงานโดยตรงได้เลย

📩 Email : info@cctgroup.co.th
📲 Line: Lakkana99
☎️เบอร์โทรศัพท์ : 081-6428556 (คุณลักขณา)
Facebook : https://www.facebook.com/cctmedical

บทความล่าสุด
สารเคมียาฆ่าแมลง คือปัจจัยที่ทำให้เกิด มะเร็งเม็ดเลือดขาว (2567)

สารเคมียาฆ่าแมลง คือปัจจัยที่ทำให้เกิด มะเร็งเม็ดเลือดขาว (2567)

รู้หรือไม่ว่าสารเคมี ยาฆ่าแมลง เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง วันนี้เราจะมาคุยกันกับหัวข้อ สารเคมียาฆ่าแมลง คือปัจจัยที่ทำให้เกิด มะเร็งเม็ดเลือดขาว (2567) หลีกเลี่ยงที่จะพบเจอสารเคมีเหล่านี้ดีกว่า หรือ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราก็สามารถใช้ผ้าปิดจมูก หน้ากากอนามัย...

เช็คความเสี่ยง มะเร็งเม็ดเลือดขาว เฉียบพลัน (2567)

เช็คความเสี่ยง มะเร็งเม็ดเลือดขาว เฉียบพลัน (2567)

วันนี้ CCTMED จะพามาตรวจ เช็คความเสี่ยง มะเร็งเม็ดเลือดขาว เฉียบพลัน (2567) กันดีกว่า จากการรายงานขององค์การอนามัยโลกแจ้งว่า ในปี 2020 อุบัติการของผู้ป่วยมะเร็งในประเทศต่างๆทั่วโลกคาดการณ์ว่า โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย (Leukemia) มีประมาณ 7 ใน 1 แสนประชากร...

ราคาหน้ากากอนามัย ทางการแพทย์ 50 ชิ้น ราคาส่ง ผลิตในไทย

ราคาหน้ากากอนามัย ทางการแพทย์ 50 ชิ้น ราคาส่ง ผลิตในไทย

วันนี้ผมจะมาอัพเดท ราคาหน้ากากอนามัย 50 ชิ้น แมส ราคาส่ง มี อย. ผลิตในไทย อัพเดทล่าสุด มกราคม 2567 ส่งตรงจากโรงงานโดยตรง ซึ่งท่านจะได้ในราคาต้นทุน ราคาถูก กว่าที่อื่นแน่นอน หน้ากากของเรามีใบรับรองคุณภาพทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น อย. มอก. SGS...

ติดโควิท-19 รักษาหายแล้ว อาการจะเป็นอย่างไร?

ติดโควิท-19 รักษาหายแล้ว อาการจะเป็นอย่างไร?

แทบจะเกือบ 20% ของประเทศไทยหรืออาจจะมากกว่าที่ ติดโควิท-19 กันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อให้เรามีการมีการป้องกันดีมากขนาดไหน ฉีดวัคซีนครบตามจำนวน ภูมิคุ้มกันเราแข็งแรงแค่นั้น ก็ยังแพ้ให้กับเจ้าโรคนี้ หรือแม้แต่เราจะออกกำลังกายเป็นประจำ...

เริ่ม ถอดหน้ากากอนามัยโดยสมัครใจ วันนี้ 1 ก.ค 2565 เงื่อนไขต่างๆ  สรุปที่นี่

เริ่ม ถอดหน้ากากอนามัยโดยสมัครใจ วันนี้ 1 ก.ค 2565 เงื่อนไขต่างๆ สรุปที่นี่

ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ประเทศไทยได้มีมาตรการ เริ่ม ถอดหน้ากากอนามัยโดยสมัครใจ คนไทยทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศสามารถ "ถอดหน้ากากอนามัย" โดยความสมัครใจได้โดยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด...

ผู้ผลิตหน้ากากอนามัยและจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์