เช็คความเสี่ยง มะเร็งเม็ดเลือดขาว เฉียบพลัน (2567)

}

1 March, 2024

เช็คความเสี่ยง มะเร็งเม็ดเลือดขาว เฉียบพลัน (2567)

วันนี้ CCTMED จะพามาตรวจ เช็คความเสี่ยง มะเร็งเม็ดเลือดขาว เฉียบพลัน (2567) กันดีกว่า จากการรายงานขององค์การอนามัยโลกแจ้งว่า ในปี 2020 อุบัติการของผู้ป่วยมะเร็งในประเทศต่างๆทั่วโลกคาดการณ์ว่า โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย (Leukemia) มีประมาณ 7 ใน 1 แสนประชากร เพราะฉะนั้นเมื่อเทียบกับประชากรของประเทศไทยประมาณ 60-70 ล้านคน จะอยู่ที่ประมาณเกือบ 5 พันคน ต่อปี นับว่าไม่น้อยสำหรับในเรื่องของมะเร็ง นอกจากนี้มะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยทั่วไปพบในวัยกลางคน เฉลี่ยประมาณ 40-50 ปี จากสถิติในประเทศไทยเฉลี่ยที่อายุ 55 ปี

มะเร็งเม็ดเลือดขาว เรียกอีกอย่างว่า ลิวคีเมีย (Leukemia) ชนิดเฉียบพลัน
เกิดจากการเพิ่มจำนวนอย่างผิดปกติของเซลล์ตัวอ่อนเม็ดเลือดขาวในกระดูก เซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างผิดปกติในไขกระดูก จะส่งผลทำให้เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดที่ปกติ มีปริมาณลดลง

  • มีภาวะซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • เลือดออกผิดปกติ
  • มีไข้สูง ติดเชื้อง่าย
  • เกิดจากการกลายพันธุ์ของ DNA ของเม็ดเลือดขาว ที่อยู่ในไขกระดูก และปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของการกลายพันธุ์ของ DNA ของเม็ดเลือดขาว
  • การสัมผัสสารเคมีเป็นเวลานาน และพันธุกรรมมีแนวโน้มเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ
  • เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์เม็ดเลือดขาวต้นกำเนิดในไขกระดูก
  • จากผลเลือดยังไม่สามารถวินิจฉัยยืนยันแน่ชัดได้ ต้องทำการเจาะไขกระดูกเพื่อส่งตรวจเพิ่มเติม

เมื่อมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เลือดออกผิดปกติ ผู้ป่วยมีไข้สูงโดยไม่ทราบสาเหตุ เกิน 1 สัปดาห์ โดยทั่วไปแพทย์ให้การการตรวจเลือด ซึ่งการตรวจเลือดจะเป็นการตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count, CBC) เป็นการตรวจเม็ดเลือดที่สร้างมาจากไขกระดูก 3 ชนิด คือเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด โดยข้อมูลของการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดจะสามารถบ่งชี้ได้ว่าเม็ดเลือดขาวมีปริมาณที่ผิดปกติ เช่นสูงมากผิดปกติ มีลักษณะที่เป็นตัวอ่อนหรือไม่ หากเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน จะมีเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้การวินิจฉัยเบื้องต้นสรุปได้ว่า เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน รวมถึงการตรวจวินิจฉัยด้วย CBC ก็สามารถบ่งชี้ถึงความรุนแรงของโรคได้ขั้นต้น เช่น เม็ดเลือดแดงมีปริมาณลดลงมาก แสดงถึงภาวะโลหิตจางมาก อาจต้องมีการให้เลือดเพื่อลดความอ่อนเพลีย ซีด หรือเหนื่อยง่าย รวมถึงปริมาณของเกล็ดเลือด หากมีปริมาณต่ำเกินไปจะทำให้เลือดออกผิดปกติและอันตรายถึงชีวิตได้

เมื่อตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแล้ว บ่งชี้ว่าเป็นกลุ่มของมะเร็งเม็ดเลือดขาวจริง แพทย์จะทำการตรวจบริเวณไขกระดูก เพื่อหาตำแหน่งสร้างเม็ดเลือดขาวชนิดตัวอ่อนที่สงสัย ถึงลักษณะเหมือน CBC หรือไม่ และนำส่งตรวจเพิ่มเติมต่อได้ เพื่อหาความเสี่ยงของมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันต่อไป

หลังจากมีข้อบ่งชี้ของความผิดปกติทาง CBC ร่วมกับอาการที่เข้าข่ายของโรค แพทย์จะทำการนำเข้าสู่การตรวจไขกระดูก เพื่อเป็นการยืนยันโรค

จัดท่านอนคว่ำ แพทย์จะทำการฉีดยาชา แล้วใช้เข็มเจาะตรวจบริเวณกระดูกบั้นเอว
-จะมีอาการเจ็บบ้างเล็กน้อยขณะฉีดยาชา และมีอาการเจ็บเสียวๆ ขณะแพทย์กำลังดูดไขกระดูก
-มีประโยชน์ เพื่อใช้ยืนยันการวินิจฉัยประเมินความรุนแรงเพื่อใช้ในการวางแผนการรักษา

วิธีการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลัน และมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเรื้อรัง มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน โดยการรักษาแบบเรื้อรัง จะมีวิธีการรักษา 2 ชนิด คือ

1. ยารับประทาน

เรียกว่ายามุ่งเป้า เป็นยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยรบกวนการส่งสัญญาณที่เกี่ยวข้องต่อการเจริญเติบโต และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง

2. ให้ยาเคมีบำบัดอีกกลุ่มหนึ่ง

เป็นการให้ยาซึ่งมีฤทธิ์ทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อร้าย

หากไม่รีบรักษามีโอกาสเสียชีวิตภายใน 3-6 เดือน หลังการวินิจฉัย

  • ให้ยาเคมีบำบัดขนาดสูง สำหรับผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 60-65 ปี ที่ไม่มีโรคประจำตัว
  • มีโอกาสทำให้โรคสงบได้สูงถึง 60-70 เปอร์เซ็นต์ เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลประมาณ 3-4 สัปดาห์ เพื่อให้ยาออกฤทธิ์และรอให้ไขกระดูกฟื้นตัว

กรณีผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี หรือมีโรคประจำตัว

  • จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน และเสียชีวิตสูง จากการให้ยาเคมีบำบัด
  • รักษาแบบประคับประคอง ให้เลือด หรือเกล็ดเลือด ตามที่แพทย์เห็นสมควร

ในปัจจุบันสามารถทำให้หายขาดได้ แต่วิธีการทำให้การรักษาหายขาดไม่ได้เกิดจากการให้ยาเคมีบำบัดแค่ครั้งเดียว การรักษาโรคในปัจจุบันสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ ต้องอาศัยระยะเวลาการรักษาหลังจากให้ยาเคมีบำบัดขนาดที่ 1 เรียกว่าเป็นการให้เคมีบำบัดหรือการประคองโรค ให้สงบยาวนาน การประคองโรคให้สงบยาวนานที่ดีที่สุด ในปัจจุบันคือการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเสต็มเซลล์ หรือการปลูกถ่ายไขกระดูก

ด้วยวิธีการทำให้โรคสงบได้ด้วยยาก่อน เพื่อให้มีพื้นที่ของไขกระดูกในการรับเสต็มเซลล์ผู้บริจาค และการให้ยาเคมีบำบัด การนำไปสู่การปลูกถ่ายเสต็มเซลล์เพื่อนำไปสู่การหายขาด หลังจากนั้นจะทำการตรวจเสต็มเซลล์ของผู้ป่วยเอง ว่ามีลักษณะเสต็มเซลล์ของผู้ป่วยเป็นแบบไหน เพื่อในอนาคตจะได้นำไปหาเสต็มเซลล์ของผู้บริจาค ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นญาติ พี่น้องที่มาจากพ่อแม่สายเลือดเดียวกันหรือในเครือญาติ หรือมาจากผู้บริจาคให้กาชาด ที่มีการบริจาคเสต็มเซลล์ให้ โอกาสที่ผู้ป่วยจะหายขาดสูงมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์

ภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา ติดเชื้อ เกล็ดเลือดต่ำ ซีด

  • มีทีมแพทย์ พยาบาลที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ดูแลสถานที่ปลอดเชื้อที่มีแผ่นกรอง HEPA filter เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • หลังการรักษา จะมีการเจาะไขกระดูกเพื่อตรวจซ้ำ เพื่อประเมินโรคว่าเข้าสู่ภาวะสงบหรือไม่
  • หากสงบยังต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องด้วยยาเคมีบำบัด การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด(ปลูกถ่ายไขกระดูก หรือปลูกถ่ายสเต็มเซลล์) เพื่อควบคุมโรคไม่ให้กลับเป็นซ้ำ

ผู้ป่วยต้องรักษาความสะอาด เพื่อไม่ให้ติดเชื้อ

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และสุก สะอาด เพื่อให้เม็ดเลือดฟื้นตัว และลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นให้มากที่สุด
  • ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ผศ.นพ.ธนาวัฒก์ รัตนธรรมเมธี อาจารย์ประจำหน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.

Email : info@cctgroup.co.th
Line: Lakkana99
เบอร์โทรศัพท์ : 081-6428556 (คุณลักขณา)
Facebook : https://www.facebook.com/cctmedical

บทความล่าสุด
สารเคมียาฆ่าแมลง คือปัจจัยที่ทำให้เกิด มะเร็งเม็ดเลือดขาว (2567)

สารเคมียาฆ่าแมลง คือปัจจัยที่ทำให้เกิด มะเร็งเม็ดเลือดขาว (2567)

รู้หรือไม่ว่าสารเคมี ยาฆ่าแมลง เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง วันนี้เราจะมาคุยกันกับหัวข้อ สารเคมียาฆ่าแมลง คือปัจจัยที่ทำให้เกิด มะเร็งเม็ดเลือดขาว (2567) หลีกเลี่ยงที่จะพบเจอสารเคมีเหล่านี้ดีกว่า หรือ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราก็สามารถใช้ผ้าปิดจมูก หน้ากากอนามัย...

ราคาหน้ากากอนามัย ทางการแพทย์ 50 ชิ้น ราคาส่ง ผลิตในไทย

ราคาหน้ากากอนามัย ทางการแพทย์ 50 ชิ้น ราคาส่ง ผลิตในไทย

วันนี้ผมจะมาอัพเดท ราคาหน้ากากอนามัย 50 ชิ้น แมส ราคาส่ง มี อย. ผลิตในไทย อัพเดทล่าสุด มกราคม 2567 ส่งตรงจากโรงงานโดยตรง ซึ่งท่านจะได้ในราคาต้นทุน ราคาถูก กว่าที่อื่นแน่นอน หน้ากากของเรามีใบรับรองคุณภาพทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น อย. มอก. SGS...

ไขข้อข้องใจโอมิครอน BA.4-BA.5 น่ากลัวไหม ป้องกันอย่างไร

ไขข้อข้องใจโอมิครอน BA.4-BA.5 น่ากลัวไหม ป้องกันอย่างไร

ไวรัสตัวใหม่โอมีครอน Ba.4-BA.5 ไขข้อข้องใจโอมิครอน BA.4-BA.5 น่ากลัวไหม ป้องกันอย่างไร ซึ่งตามรายงานได้มีการบอกถึงกระแพร่เชื้อได้รวดเร็วกว่าตัวเดิมอย่างมาก การกระจายตัวของมันซึ่งสามารถติดเชื้อกันได้ง่ายกว่าเดิมแต่ความรุนแรงนั้นตามที่ได้มีการวิจัยซึ่งบอกว่า...

ติดโควิท-19 รักษาหายแล้ว อาการจะเป็นอย่างไร?

ติดโควิท-19 รักษาหายแล้ว อาการจะเป็นอย่างไร?

แทบจะเกือบ 20% ของประเทศไทยหรืออาจจะมากกว่าที่ ติดโควิท-19 กันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อให้เรามีการมีการป้องกันดีมากขนาดไหน ฉีดวัคซีนครบตามจำนวน ภูมิคุ้มกันเราแข็งแรงแค่นั้น ก็ยังแพ้ให้กับเจ้าโรคนี้ หรือแม้แต่เราจะออกกำลังกายเป็นประจำ...

เริ่ม ถอดหน้ากากอนามัยโดยสมัครใจ วันนี้ 1 ก.ค 2565 เงื่อนไขต่างๆ  สรุปที่นี่

เริ่ม ถอดหน้ากากอนามัยโดยสมัครใจ วันนี้ 1 ก.ค 2565 เงื่อนไขต่างๆ สรุปที่นี่

ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ประเทศไทยได้มีมาตรการ เริ่ม ถอดหน้ากากอนามัยโดยสมัครใจ คนไทยทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศสามารถ "ถอดหน้ากากอนามัย" โดยความสมัครใจได้โดยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด...

ผู้ผลิตหน้ากากอนามัยและจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์